วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แกรนด์แคนย่อน


แกรนด์แคนยอน : Grand Canyon <มลรัฐอะริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา>
แกรนด์แคนยอนถือเป็นความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอนุรักษ์สถาน ของโลกโดยตามสภาพภูมิศาสตร์และการลงมติของสหประชาชาติ สำรวจพบสถานที่แห่งนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1776 ปีเดียวกับที่อเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษ แต่เพิ่งมารู้ว่ามีแม่น้ำโคโรลาโดไหลผ่านในปี ค.ศ 1857 แม่น้ำโคโลราโดไหลจากทิศเหนือไปใต้สู่ทะเลสาบมี๊ด ระยะทางประมาณ 200 ไมล์ Grand Canyon ถูกจัดให้ เป็นวนอุทยานแห่งชาติของสหรัฐ

แกรนด์แคนยอนเกิดขึ้นโดยอิทธิพลของแม่น้ำโคโลราโด ไหลผ่านที่ราบสูงทำให้เกิดการสึกกร่อน พังทะลายของ หินเป็นเวลา 225 ล้านปีมาแล้ว เดิมทีแม่น้ำโคโลราโดมีสภาพเป็นลำธารเล็กๆที่ไหลคดเคี้ยวไป ตามที่ราบกว้าง ใหญ่ที่อยู่ระดับเดียวกับน้ำทะเล ต่อมาพื้นโลกเริ่มยกตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากแรงดันและความร้อนอันมหาศาล ภายใต้พื้นโลกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปและกลายเป็นแนวเทือกเขากว้างใหญ่ การยกตัวของแผ่นดินทำให้ทางที่ ลำธารไหลผ่านลาดชันขึ้นและทำให้น้ำไหลแรงมากขึ้น พัดเอาทรายและตะกอนไปตามน้ำเกิดการกัดเซาะลึกลง ไปทีละน้อยในเปลือกโลก วัดจากขอบลงไปก้นหุบเหวกว่า 1 ไมล์ (ประมาณ 1,600 เมตร) และอาจลึกว่าสอง เท่าของความหนาของเปลือกโลก ก่อให้เกิดหินแกรนิต หินชั้นแบบต่างๆพื้นดินที่เป็น หินทรายถูกน้ำ และลม กัดเซาะ จนเป็นร่องลึกสลับซับซ้อนนานนับล้านปี เป็นแคนยอนงดงามน่าพิศวงเนื่อง จากผลของดินฟ้าอากาศ ความร้อนเย็นซึ่งมีอิทธิพลรอบด้าน

ทางตะวันตกของแม่น้ำโคโลราโดมีลักษณะคดเคี้ยวไปมาน่าสับสนและเป็นที่ตั้งส่วนหนึ่งของแกรนด์แคนยอนด้วย โดยยาวถึง 150-200 ไมล์ บริเวณนี้เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุดจุดหนึ่ง ซึ่งก็คงเป็นเพราะ ทัศนียภาพที่แปลกตาของความลึกของหุบเขาและลักษณะของแม่น้ำที่มีรูปร่างทรงกรวยและไหลเป็นหลั่นๆชั้นลงไป โดยเกิดจากลาวาที่ทับถมจากภูเขาไฟเมื่อหลายล้านปีก่อนนั่นเอง

บริเวณหน้าผาของแกรนด์ แคนยอน แม่น้ำโคโลราโดได้เดินทางมาบรรจบ กับแม่น้ำ"เวอร์จิน" ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ทะเลสาบ"มี๊ด"ด้วยจุดนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดสิ้นสุดของแกรนด์ แคนยอนเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่ง อย่างดีทั้งนี้เพราะสภาพบรรยากาศที่แปลกแตกต่างจากที่อื่นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับที่ราบสูงโคโลราโดทาง ตะวันออก 2 จุดนี้เป็นจุดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นในด้านของโครงสร้างภูมิศาสตร์หรือประวัติศาสตร์

ในทางใต้ของแม่น้ำสายนี้จะเป็นทางลาดลงไปกว่า 3,000 ฟุต โดยเกิดจากดินทรายที่พัดพามาจากที่สูงแถบนี้ เป็นที่ตั้งของที่ราบสูง "ตอนใต้" และห่างออกไป 70 ไมล์ก็เป็นที่ตั้งของช่องแคบ "อินเนอร์ กอร์จ"ที่เป็นรูปตัว "วี" แคบๆ และกว้าง 300 ฟุตนอกจากนี้สีสรรของสายน้ำก็ยังเปลี่ยนแปลงไปด้วย บางวันก็เป็นสีน้ำตาล บางวันก็เป็นสีเขียว ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของตะกอนที่พัดพามาแต่ละวัน

นอกจากนั้นในบริเวณซอกหลืบของหุบเขาน้อยใหญ่ยังมีการค้นพบร่องรอยอารยธรรมของชาวอินเดียนแดงโบราณ ซึ่งยังมีลูกหลานดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมและบางส่วนก็ยังคงอยู่ที่แกรนด์ แคนยอน จนถึงทุกวันนี้ เช่น อินเดียนแดงเผ่า Hopis, Havasupais, Navajos, Hualapais, Paiutes, Pueblos เป็นต้น ทุก ๆ ปีจะมีคนไปชมความมหัศจรรย์ ของแกรนด์แคนยอนไม่ต่ำกว่าสองล้านคน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น